เมนู

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสันภิทา 4 วิโมกข์ 8 และแม้
อภิญญา 6 เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน

24. อรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน


อปทานแห่งท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า นคเร
จนฺทวติยา
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เป็น
คนขัดสนตามสมควรแก่กุศลกรรมที่คนทำไว้ในภพก่อน จึงมีข้าวน้ำและ
โภชนะน้อย ทำการรับจ้างคนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ รู้ถึงโทษในสงสาร แม้
ประสงค์จะบวชก็มิได้บวช สมาทานศีล 5 ในสำนักของท่านนิสภเถระ
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี. รักษาศีลตลอดแสนปี
เพราะคนเกิดในกาลมีอายุยืน. ด้วยกรรมนั้นท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลมหาศาลในกรุง
สาวัตถี. เห็นมารดาบิดาสมาทานศีล ระลึกถึงศีลของตน เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตบวชแล้ว.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพ-
จริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้.
บทว่า ภตโก อาสหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราบำเพ็ญบุญ
เราเป็นคนรับจ้างคือเป็นผู้กระทำการงานเพื่อค่าจ้าง. บทว่า ปรกมฺมายเน
ยุตฺโต
ความว่า เราประกอบแล้วคือกระทำแล้วซึ่งการทำการงานของผู้อื่น
เพื่อค่าจ้าง จึงไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากสงสาร เพราะ
ไม่มีโอกาส.
บทว่า มหนฺธการปิหิตา ความว่า ผู้อันความมืดคือกิเลสใหญ่
ปิดกันไว้. บทว่า ติวิธคฺคีหิ ฑยฺหเร ความว่า อันไฟ 3 กองกล่าวคือ
ไฟคือนรก ไฟคือเปรต ไฟคือสงสาร หมกไหม้อยู่. อธิบายว่า เราพึง
เป็นผู้ปลีกตนออกไปด้วยอุบายนั้น คือด้วยเหตุนั้น. อธิบายว่า ไทยธรรม
คือวัตถุที่ควรจะพึงให้มีข้าวและน้ำเป็นต้นของเราไม่มี เพราะไม่มีข้าว
และน้ำเป็นต้นนั้น เราจึงเป็นคนกำพร้าทุกข์ยาก ต้องทำการรับจ้าง
เลี้ยงชีพ. คำว่า ยนฺนูนาหํ ปญฺจสีลํ รกฺเขยฺยํ ปริปูรยํ ความว่า เราพึง
สมาทานศีล 5 ให้บริบูรณ์. ถ้ากระไรแล้ว เราพึงรักษา คือคุ้มครองให้ดี
เจริญงาม.
บทว่า สฺวาหํ ยสมนุภวึ ความว่า เรานั้นเสวยยศใหญ่ในเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายเนืองๆ ด้วยอานุภาพแห่งศีลเหล่านั้น. อธิบายว่า การ
ยกย่องผลของศีลเหล่านั้นแม้สิ้นโกฏิกัป พึงประกาศทำให้ปรากฏเพียง
ส่วนเดียวเท่านั้น. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน

อันนสังสาวกเถราปทานที่ 5 (25)


ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา


[27] เราได้ปีติอย่างยิ่ง เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มี
พระฉวีวรรณดังทองคำ พระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จดำเนิน
อยู่ในระหว่างตลาด เช่นกับเสาค่ายทอง มีพระลักษณะ
ประเสริฐ 32 ประการ ดังดวงประทีปส่องโลกให้โชติช่วง
หาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ฝึกพระองค์แล้ว ทรงความ
รุ่งเรือง.

เราถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระองค์ผู้มหามุนี
ให้เสวย พระมุนีผู้ประกอบด้วยกรุณาในโลก ทรงอนุโมทนา
แก่เราในกาลนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผู้ทรง
พระมหากรุณาพระองค์นั่น ทรงทำความชื่นชมอย่างยิ่งแล้ว
บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง.

ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในเวลานั้น ด้วย
ผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย
ภิกษา.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบอันนสังสาวกเถราปทาน